วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทำความรู้จัก ถนนเยาราช ถนนประวัติประศาสตร์



ประวัติ ถนนเยาวราช 

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างถนนนี้ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ – ๒๔๔๓ ตั้งต้นจากบริเวณคลองโอ่งอ่างถึงวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นระยะทาง ๑,๕๓๒ เมตร ส่วนคำว่า เยาวราช มีความหมายว่า พระราชาที่ทรงพระเยาว์ หมายถึงรัชกาลที่ ๕ ที่ขึ้นครองราชย์ เมื่อมีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา ต่อมาถนนสายนี้ได้ถูกขนานนามว่าเป็น ไชน่าทาวน์ ของเมืองไทย เนื่องจากตลอดสายของถนนเป็นแหล่งทำมาหากิน และที่อยู่อาศัยของชนชาวจีน นับได้ว่าเป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในอดีต ถนนเยาวราช เป็นถนนสายแรกที่มีตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยตั้งอยู่คือ ตึกเจ็ดชั้นและตึกเก้าชั้น บนสองฟากของถนนมีภัตตาคารจีนชั้นดี มีโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรีที่ทันสมัยในยุคนั้น มีร้านขายทองคุณภาพดีที่เชื่อถือได้ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งอาหารสด และอาหารแห้งเพื่อนำไปประกอบอาหารจีนมากมาย  และในช่วงเทศกาลสำคัญของชาวจีนอย่างเช่น เทศกาลถือศีลกินเจ และเทศกาลตรุษจีน บนถนนสายนี้ก็มีการจัดกิจกรรมและการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศมากมายมาเข้าร่วมเฉลิมฉลอง นับว่า
เป็นถนนที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก






ถนนมังกร
ตามคติความเชื่อของชาวจีน มังกรเป็นสัตว์เทพเจ้าแห่งความเป็นมงคล ยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ถนนสายนี้จึงถูเรียกอีกชื่อว่า  ถนนมังกร  โดยเริ่มต้นหัวมังกรที่ ประตูเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา บริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราช และสิ้นสุดปลายหางมังกร ที่สุดถนนเยาวราช

สถานที่สำคัญบนถนนเยาวราช






หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยาราม
สักการะพระพุทธรูปทองคำองค์แรกของไทย ที่หนังสือกินเนสส์บุ๊ค ปี 1991 บันทึก
เอาไว้ว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก



                                  


วัดมังกรกมลาวาส วัดเล่งเน่ยยี่ 
นับถือกราบไหว้ อาทิ เอี๊ยะ ไฉ่ซิ้งเอี๊ยะ ลาภ เฮ่งเจีย ในวันพระจีน จะมีคนแวะมาไหว้จนควันธูปตลบไปทั่ว หรือมีเทพเจ้าที่คนไท้ส่วยเทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตาเทพเจ้าแห่งโชคไต่เสี่ยหุกโจ้ว 



                                 


China Gate ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
สร้างขึ้นบริเวณวงเวียนโอเดียนเก่าตกแต่งด้วยแผ่นทองคำเป็นรูปมังกรสองตัว เชิดชูตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ตามความเชื่อว่าจักรพรรดิ์ กำเนิดมาจากมังกร





ห้างทองตั้งโต๊ะกัง
กิจการ ที่ต้องการอนุรักษ์เครื่องมือทำทองสมัยโบราณมาจัดแสดงภายในตึกโบราณของห้างทองที่สร้างมาตั้งแต่สมัย ร. 6 ถือเป็นตึกสูงที่สุดของเยาวราชในสมัยนั้น





ถนนเศรษฐกิจของชาวจีนสำเพ็ง
ในย่านนี้มาตั้งแต่สมัย ร. 1 ถึง ร. 5ปัจจุบัน เป็นตลาดขายส่งที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ


                             แผนที่ ถนนเยาราช




แนวคิด

         การที่ผู้จัดทำได้เลือกชุมชน เยาวราชเป็น ที่ศึกษา  เพราะต้องการทราบว่าทำไมบริเวณนี้จึงมีผู้คนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก     โดยคิดว่า เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น และคิดว่า น่าจะมีปัจจัยที่ทำให้ ผู้คน สนใจ และเลือกที่จะมาตั้งถิ่นฐานกันที่นี่   จึงได้ทำการศึกษา หาคำตอบที่ชุมชนเยาวราช




จากการวิเคราะห์



จากการที่ได้ไปศึกษาดูชุชนเยาวราชจะพบว่า  ผู้คนแถวนี้เป็นคไทยเชื้อสายจีนโดยทั่วไปเราจะทราบอยู่แล้วว่าคนจีนนั้นชอบ ค้า ขายเป็นคนขยันทำให้ชุมชนแถบนี้มีความเจริญ ในที่ชุมชนนี้มี ทองคำ เป็นการค้าขายที่สำคัญ  จึงน่าจะเป็นเหตุให้มีการ รวมกัน ตั้งกลุ่มสร้างถิ่นฐานขึ้นที่นี่  โดยสังเกตจากชื่อร้านทอง ที่เป็นภาษาจีน  และ ยังมีพิพิธภัณท์ ทองคำ ตั้งโต๊ะกัง  ที่มีชื่อเสียงอีกด้วย  การที่ ชุมชนเยาวราชมีผู้คนมาอาศัย อยู่เป็นจำนวนมากนี้เพราะ มีทรัพยากร ที่มีคุณค่า มากมาย  เช่นทองคำ  หรือมีการค้าขายสินค้าที่หลากหลาย ซึ่งทรัพยากร เป็นปัจจัยที่สำคัญในการ เลือกการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์



สรุป

ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิต เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ ดิน เป็นต้น หากพื้นที่ใดที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ จะเป็นพื้นที่ที่ผู้คนจำนวนมากเลือกตั้งถิ่นฐานเป็นที่อยู่อาศัย ในที่เยาวราชนี้ก็คือ ทองคำ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า